วิชาแนะแนว : วิชาที่ควรสอนให้เด็กค้นพบตัวตน
คาบแนะแนวของคุณทำอะไรกันบ้าง ? ที่จริงวิชาแนะแนวในไทยมีมานานแล้ว จุดประสงค์ของวิชานี้คือ ช่วยเหลือนักเรียนให้เข้าใจตัวเองและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้เขา “มีคุณภาพเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล” “ค้นพบและพัฒนาศักยภาพตัวเอง” มีทักษะการดำเนินชีวิต มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรม จริยธรรม รู้จักการเรียนรู้ในเชิงพหุปัญหา รู้จักคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาในช่วงวิกฤติ วางแผนการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวได้อย่างมีความสุขในชีวิตได้พัฒนาตนเองให้ถึงขีดสุด ในทุกด้าน แล้วเราได้อะไรจากวิชานี้ ? ในตัวมุมมองของคนเขียนเอง วิชาแนะแนวที่เจอคือลอกการบ้านเพื่อน หรือคาบว่างลงไปเดินเล่น หาอะไรกิน พอถึงช่วงใกล้สอบครูก็จะมาบอกว่า ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง บอกคณะที่ตลาดต้องการ บอกมหาวิทยาลัยชั้นนำ โดยที่ไม่มีการถามเด็กด้วยซ้ำว่า เขาอยากเป็นอะไร ที่หนักสุดคือเอาแต่ยัดเยียดคณะให้เด็กสอบเข้าเพื่อจะทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงขึ้น (คงไม่ต้องพูดว่าคณะอะไร) แล้วเด็กคนอื่นที่เขาไม่ถนัดด้านวิชาการ ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากวิชานี้เลย ซึ่งเด็กที่อยากทำประมงหรือคณะอื่นๆ ที่ไม่แมส เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาต้องเรียนอะไร ทำให้รู้ว่าการแนะแนวของการศึกษายังให้เขาไม่พอ มันคือจุดอ่อนของการศึกษาไทยคือ “เด็กเรียนมากแต่ไม่รู้ตัวเอง” วิชานี้ควรเป็นวิชาให้เด็กเจอตัวตนเขาจริงๆ ได้เห็นว่าอาชีพที่เขาอยากเป็นต้องทำอะไรบ้าง ควรให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง ครูเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในวิชานี้ ห้องแนะแนวควรเป็นห้องที่เด็กกล้าเดินเข้าไปปรึกษาได้ทุกเรื่องไม่ใช้แค่ด้านวิชาการ แต่เป็นเรื่องการใช้ชีวิต ปัญญาการเข้าสังคม หรือแม้กระทั่งเรื่องเพศ ห้องแนะแนวควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา ทุกวันนี้เราทุกคนเจอตัวเองหรือยัง? สตีฟ จอบส์ (Steve […]